วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

50.พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม


พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
สมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
1x42.gif

สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี องค์ประกอบของสังคมไทยประกอบด้วยสถาบันต่างๆ ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ และทาส
   ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การทำนุบำรุงและฟื้นฟูทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และการทำนุบำรุงก็กระทำโดยวิธีรักษารูปแบบเดิมไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ผสมผสานเข้าไปด้วย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคนี้เจริญรุ่งเรืองมากสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๓๕)
ศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สะท้อนความเจริญของบ้านเมือง  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ผู้นำทุกยุคทุกสัยให้ความสำคัญ  ส่งเสริม  และสนับสนุน  ศิลปวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์แบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท  คือ  สถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  และวรรณกรรม
1. สถาปัตยกรรม
   สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ได้รั้บแบบอย่างมาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย  เช่น  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)  มีลักษณะคล้ายคลึงกับวัดพระศรีสรรเพชญในสมัยอยุธยา  
สมัยรัชกาลที่ 1  มีการสร้างและบูรณะวัดเป็นจำนวนมาก
สมัยรัชกาลที่ 3  ทรงมีพระราชนิยมแบบจีน  เกิดสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างไทยกับจีน  เช่น  วัดยานนาวา  เป็นต้น  
เมื่อมาถึงสมัยรัชากาลที่ 4  ไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก  สถาปัตยกรรมจึงมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก  เช่น
   พระราชวังสราญรมย์  ที่กรุงเทพ ฯ  สร้างสมัยรัชกาลที่ 4
   พระที่นั่งอนันตสมาคม  ที่กรุงเทพ ฯ  สร้างสมัยรัชกาลที่ 5
   พระราชวังสนามจันทร์  ที่จังหวัดนครปฐม  สร้างสมัยรัชกาลที่ 6


2. ประติมากรรม
    งานประติมากรรมของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  มักเป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ไม่นิยมปั้นรูปมนุษย์แบบสมจริง   จนกระทั่งได้รับอิทธิพลมาจากอารยธรรมตะวันตก  จึงเริ่มมีประติมากรรมรูปมนุษย์ตามแบบของจริงมากขึ้น  ส่วนใหญ่เป็นรูปปั้นของกษัตริย์  และบุคคลสำคัญ  เช่น  อนุสาวรีย์ต่าง ๆ เป็นต้น


3. จิตรกรรม
   จิตรกรรม  คือ  ศิลปะการวาดภาพ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมักเป็นจิตรกรรมที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ  ชาดก  หรือภาพในวรรณคดีเรื่อง  รามเกียรติ์  เป็นต้น  
ซึ่งส่วนใหญ่เขียนเป็นจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์  สำหรับจิตรกรรมของชาวบ้านทั่วไปมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดกเช่นกัน  แต่มักสอดคแทรกเรื่องราวของวิถีชีวิตลงไปด้วย  ซึ่งสามารถพบจิตรกรรมประเภทนี้ได้ทั่วไป
    สมัยรัชกาลที่ 3  มีการรับอิทธิพลของศิลปะจีนอย่างมาก  ส่วนสมัยรัชกาลที่ 4  ได้รับอิทธิพลของตะวันตก  ซึ่งจะเป็นภาพที่สมจริงคือ  มี 3 มิติ  ศิลปินที่สำคัญในสมัยนี้  คือ  ขรัว  อินโข่ง  ส่วนศิลปินที่มีความสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5  คือ  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ซึ่งอิทธิพลของตะวันตกยังส่งผลต่อจิตรกรรมไทยจนถึงปัจจุบัน


4. วรรณกรรม
    วรรณกรรมได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตกอย่างชัดเจน มีหลากหลายแนวทั้ง นวนิยาย เรื่องสั้น งานแปล สารคดี

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

3 ความคิดเห็น: