วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

4.หลักฐานและองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ไทย


หลักฐานและองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ไทย

1x42.gif
.......การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยต้องอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ 4 ลักษณะ
.......1. จากจารึก หมายถึง บันทึกหรือเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของมนุษย์เพื่ออธิบายเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้รับทราบลักษณะสำคัญจารึก มีดังนี้ มีการกำหนดสถานที่ เวลา และผู้จัดทำอย่างชัดเจน เป็นซากโบราณที่เข้าใจยาก ต้องมีการอ่านและแปลโดยผู้เชี่ยวชาญจึงสามารถเข้าใจได้ และวัสดุที่ใช้ในการจารึกส่วนใหญ่จะอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์แตกหัก

.......2. ตำนาน คือ เรื่องเล่าด้วยวาจาสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณผ่านมาหลายชั่วอายุคน ต่อมาภายหลังจึงมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรื่องราวในตำนานอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้เพราะการบอกเล่าต่อกันมาอาจทำให้เนื้อหาผิดเพี้ยนไปตามอารมณ์ของผู้เล่า ลักษณะตำนานที่สำคัญมีดังนี้
..............1. เป็นเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และความเชื่อของคนในท้องถิ่น เรื่องราวจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นนั้นๆ
..............2. ตำนานจะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องกาลเวลา จึงต้องระมัดระวังในการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะเราไม่ทราบว่าเหตุการเกิดเมื่อใด
..............3. เนื้อหาสาระของตำนานไทยจะเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติและการสร้างบ้านเมืองในสมัยโบราณไทย
..............4.คุณค่าของตำนานต่อการศึกษาประวัติศาสตร์มีน้อย เนื่องจากตำนานจะผ่านวิธีบอกเล่า ซึ่งเกิดความผิดเพี้ยนของเนื้อหา จึงไม่มีความน่าเชื่อถือมากนัก

.......3. พงศาวดาร หมายถึง การบันทึกเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตภายใต้การอุปถัมภ์ของ ราชสำนัก ดังนั้นเนื้อหาพงศาวดาร จึงมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรและพระมหากษํตริย์ ลักษณะที่สำคัญของพงศาวดารคือการเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบ้านเมืองและพระมหากษัตริย์เท่านั้น ไม่ให้ความสำคัญกับประชาชนโดยทั่วไป แต่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทางประวัติศาสตร์อย่างมาก

.......4. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ การศึกษาสมัยใหม่เริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ เน้นวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมีขั้นตอนที่น่าเชื่อถือมีเหตุผล


1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น