วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

24.การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก



การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
1x42.gif

..........ความสำเร็จของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของชาติมหาอำนาจตะวันตกเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดความต้องการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบและตลาดระบายสินค้าใหม่ๆที่เพิ่มมากขึ้น อันนำไปสู่การขยายอิทธิพลและการยึดครองดินแดนอื่นในทวีปเอเชีย
..........อเมริกากลางและแอฟริกาทีี่อุดมสมบูรณ์ด้วยวัตถุดิบสำหรับเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้เมืองแม่ ซึ่งกลายเป็นที่มาของจักรวรรดินิยมยุคใหม่ที่เริ่มก่อตัวตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
..........การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองของประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้องหลายประการ ประการแรกก็คือ
..........การแข่งขันกันขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกได้ถูกใช้เป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ชาติมหาอำนาจเหล่านั้นในการยึดครองดินแดนต่างๆเป็นอาณานิคมของตน
..........โดยมีการอ้างภาระหน้าที่ของคนผิวขาวที่จะต้องไปปกครองและนำอารยธรรมไปเผยแพร่ให้กับคนผิวสีอื่นในดินแดนที่ล้าหลังและห่างไกลความเจริญ
ส่งผลให้ประชากรในดินแดนอาณานิคมเกิดการซึมซับในศาสนา วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต แนวคิดและค่านิยมแบบตะวันตก
..........ผลกระทบที่ตามมาอีกประการของการขยายอิทธิพล ได้แก่ การเกิดข้อพิพาทและความขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างชาติตะวันตก เป็นเหตุให้บรรยากาศทางการเมืองของโลกเข้าสู่ภาวะตึงเครียด และเริ่มมีการแสวงหาพันธมิตรเพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับประเทศเมื่อเผชิญหน้ากับกลุ่มอื่นที่มีผลประโยชน์ขัดกับตน จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เริ่มต้นขึ้นในปีค.ศ. 1914 และสิ้นสุดในปีค.ศ.1918
..........อย่างไรก็ดี การรวมกลุ่มเพื่อสร้างพันธมิตรก็ไม่ใช่ปัจจัยหลักปัจจัยเดียวของการเกิดสงครามโลก สาเหตุหลักอีกข้อที่เป็นชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็คือความตื่นตัวในลัทธิชาตินิยมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ
..........ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี ฝรั่งเศสหรือออสเตรีย - ฮังการี ความรักและภาคภูมิใจในชาติของตนอย่างรุนแรงจนก่อเกิดเป็นลัทธิชาตินิยมทำให้รัฐชาติในยุโรปปรารถนาจะเห็นชนชาติของตนมีอำนาจยิ่งใหญ่เหนือชาติอื่น และทะเยอทะยานที่จะผลักดันชาติของตนให้ก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจทั้งทางทหารและเศรษฐกิจ
    
การแย่งชิงดินแดนอาณานิคม
..........การแข่งขันสร้างแสนยานุภาพทางทหารและขบวนการชาตินิยมเป็นเสมือนระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ
..........จนกระทั่งถึงจุดแตกหักเมื่อสมาชิกกลุ่มชาตินิยมในเซอร์เบียที่ต่อต้านการแทรกแซงของจักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี
..........ซึ่งในขณะนั้นขัดแย้งกับเซอร์เบียเรื่องการสร้างเขตอิทธิพลในแหลมบอลข่าน ลอบปลงพระชนม์มกุฎราชกุมารฟรานซิส เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย - ฮังการีในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914
..........เหตุการณ์นี้ทำให้ประเทศต่างๆที่เป็นอริกันต่างกล่าวหาซึ่งกันและกัน
ก่อนที่จะประกาศสงครามต่อกันเป็นลูกโซ่ และกลายเป็นสงครามใหญ่ในเวลาต่อมา
..........สงครามครั้งนี้ได้แบ่งมหาอำนาจตะวันตกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายไตรภาคีหรือมหาอำนาจกลาง ซึ่งประกอบด้วยเยอรมัน ออสเตรีย - ฮังการี  ตุรกีและอิตาลี
..........และฝ่ายไตรพันธมิตรหรือพันธมิตร อันประกอบไปด้วยอังกฤษ
ฝรั่งเศส รัสเซียและสหรัฐอเมริกา สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตรและความพ่ายแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง เป็นผลให้มีการทำสนธิสัญญาแวร์ซายส์สำหรับเยอรมัน รวมไปถึงสนธิสัญญาอีก 4 ฉบับสำหรับพันธมิตรของเยอรมัน
..........ในสนธิสัญญาดังกล่าวระบุให้ฝ่ายผู้แพ้สงครามต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล ต้องลดกำลังทางทหารและอาวุธ ตลอดจนต้องเสียดินแดนในอาณานิคมที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจให้แก่ฝ่ายพันธมิตรด้วย
    
สงครามโลกครั้งที่ 1
..........เป็นสงครามแห่งมวลมนุษยชาติครั้งแรกที่มีผู้คนจำนวนมากจากทุกทวีปเข้าร่วมการสู้รบ
..........และนับว่าเป็นความหายนะครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งเท่าที่เคยปรากฏใน ประวัติศาสตร์โลก ที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงแก่ทุกฝ่าย อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นชีวิต ทรัพย์สิน ระบบการค้าหรือการเงินระหว่างประเทศ
..........นอกจากนี้ การที่กลุ่มประเทศผู้แพ้สงครามถูกบีบบังคับให้ลงนามยอมรับข้อตกลงของสนธิสัญญาที่ตนไม่ได้มีส่วนร่วมในการร่างก็ได้ก่อให้เกิดภาวะตึงเครียด
จนเป็นชนวนหนึ่งที่นำไปสู่  การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น