วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

32.องค์การสหประชาชาติ


องค์การสหประชาชาติ
1x42.gif
องค์การสหประชาชาติ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 เมื่อประเทศสมาชิกผู้ริเริ่มก่อตั้ง 51 ประเทศ ให้สัตยาบันต่อกฎบัตรสหประชาชาติ
ในการก่อตั้งสหประชาชาติเกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มจากวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ผู้แทนประเทศสัมพันธมิตร ได้แก่ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ และผู้แทนของรัฐบาลผลัดถิ่น 8 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม เชกโกสโลวาเกีย กรีซ ลักเซมเบิร์ก ฮอลันดา นอร์เวย์ ยูโกสลาเวีย และผู้แทนของนายพล เดอโกลด์แห่งประเทศฝรั่งเศส
ได้ร่วมลงนามในปฏิญญาลอนดอน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นการประกาศเจตนารมณ์ ที่จะร่วมกันต่อต้านการรุกรานของเยอรมนี รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในทางเศรษฐกิจและสังคม
ต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1941 นาย แฟรงคลิน ดี รูสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและนายวิลส์ตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้ร่วมกันลงนามในกฎบัตรแอตแลนติก เรียกร้องให้มีสันติภาพและเคารพสิทธิของประชาชน
ซึ่งคำว่า "สหประชาชาติ" เริ่มใช้เป็นครั้งแรกจากเอกสาร "คำประกาศโดยสหประชาชาติ" ที่ประเทศมหาอำนาจ อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต และจีน ได้ร่วมลงนามในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942
    ในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ผู้แทนของสหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร จีน และสหรัฐอเมริกา ลงนามในปฏิญญามอสโก ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน ในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน และได้ร่วมกันประชุมเกี่ยวกับการร่างกฎบัตรสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม – วันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1944 ณ คฤหาสน์ดัมบาร์ตันโอกส์ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ร่วมกันร่างข้อเสนอดัมบาร์ตันโอกส์ เพื่อเป็นโครงสร้างในการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศ และเห็นชอบที่จะใช้หลักการประกันความมั่นคงร่วมกัน เป็นแนวทางการป้องกันหรือหยุดยั้งสงคราม
ต่อมาวันที่ 4-11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายวิลส์ตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรี และโจเชฟ สตาลิน ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตร่วมประชุม ณ เมืองยัลตา แหลมไครเมีย ในสหภาพโซเวียต
เพื่อพิจารณาข้อเสนอดัมบาร์ตันโอกส์ และรายละเอียดในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ โดยเรียกชื่อว่า สหประชาชาติ
     วันที่ 25 เมษายน – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1945  ผู้แทนจาก 50 ประเทศ ประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติร่างกฎบัตรสหประชาชาติ  ณ นครซานฟรานซิสโก ซึ่งที่ประชุมได้รับรองกฎบัตรด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ และได้ร่วมลงนาม และต่อมาโปแลนด์ได้ร่วมลงนามเป็นประเทศที่ 51 โดยวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 เป็นวันที่กฎบัตรสหประชาชาติมีผลบังคับใช้
วัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ          
    องค์การสหประชาชาติได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 เมื่อกฎบัตรสหประชาชาติมีผลบังคับใช้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติไว้ ดังนี้
1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติ และ ความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งปวง โดยยึดการเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน
3. เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หรือ มนุษยธรรม และ การส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และ เสรีภาพขั้นมูลพื้นฐานสำหรับทุกคนโดยไม่เลือกปฎิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือ ศาสนา
4. เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับการประสานงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกันในอันที่จะบรรลุจุดหมายปลายทางร่วมกัน
   กล่าวได้ว่าองค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นมาด้วย เจตนารมณ์ที่จะขจัดภัยพิบัติอันเกิดจากสงคราม ประกันสิทธิมนุษยชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของมวลมนุษยชาติ         
หลักการขององค์การสหประชาชาติ                 
   เพื่อให้องค์การสหประชาชาติสามารถดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ กฎบัตรสหประชาชาติได้วางหลักการที่องค์การสหประชาชาติ และ ประเทศสมาชิกจะพึงยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินการระหว่างประเทศ ดังนี้
1. หลักความเสมอภาคในอธิปไตย รัฐย่อมมีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์
2. หลักความมั่นคงร่วมกัน เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และ ความมั่นคงร่วมกัน ดำเนินมาตรการร่วมกัน เพื่อป้องกัน และขจัดการคุกคามต่อสันติภาพ
3. หลักเอกภาพระหว่างมหาอำนาจ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ รัสเซีย และ จีน
4. หลังการไม่ใช้กำลัง และ การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี
5. หลักความเป็นสากลขององค์การ เปิดกว้างแก่รัฐที่รักสันติทั้งปวง
6. หลักการเคารพเขตอำนาจศาลภายใน ปัญหาใดที่ประเทศสมาชิกอ้างว่าเป็นกิจการภายใน สหประชาชาติจะไม่มีสิทธิหรืออำนาจเข้าแทรกแซง

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น