วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

38.แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย


แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย1x42.gif
1. แนวคิดเรื่องถิ่นเดิมชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนกลางของจีน
1.1ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีและหลักฐานที่ใช้ศึกษา
ผู้เริ่มแนวคิดนี้ คือศาสตราจารย์  แตเรียง เดอ ลาคูเปอรี แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาศาสตร์ของอินโดจีน สรุปว่า ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดบริเวณภาคเหนือของมณฑลเสฉวน ในประเทศจีนมาตั้งแต่ 2,750 ปีก่อนพุทธศักราช และอ้างว่าในจดหมายเหตุจีน เรียกชนชาติไทยว่า ต้ามุง ซึ่งแปลว่ามุงใหญ่
แนวคิดที่ว่า ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนกลางของจีนนี้ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการตีความจากคำในภาษาไทยจึงมีเหตุผลน้อยไป

2. แนวคิดของชนชาติไทยเป็นเชื้อสายมองโกลมีถิ่นเดิมอยู่แถบเทือกเขาอัลไต
2.1ผู้กำหนดทฤษฎีและหลักฐานที่ใช้ศึกษา
แนวคิดที่ว่าไทยเป็นชาติมองโกลมาจากแนวคิดของ ดร.วิลเลียม คริฟตัน ดอดด์ มิชชั่นนารีชาวอเมริกันเข้ามาสอนศาสนาคริสต์ที่เชียงราย โดยเชื่อว่าชนชาติไทยมีเชื้อสายมองโกล ถิ่นเดิมน่าจะอยู่ในบริเวณเขตอบอุ่นเหนือเลยประเทศจีนขึ้นไป และได้เคลื่อนย้ายมาสู่ประเทศจีนตั้งอาณาจักรของตนขึ้น เรียกว่า อาณาจักรอ้ายลาว จีน เรียกว่า ต้ามุง ต่อมาเมื่อชาวจีนมีความเข้มแข็งได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในถิ่น ทำให้ชาวไทยอพยพไปหาที่ทำกินแหล่งใหม่
   ปัจจุบันแนวคิดนี้ไม่ค่อยได้รับความน่าเชื่อถือมากนัก เนื่องจาก
          1. สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของเทือกเขาอัลไตเป็นทุ่งหญ้า เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ ไม่เหมาะแก่การดำรงชีพของชนชาติไทย ซึ่งถนัดการเพาะปลูก
          2. การอพยพจากเทือกเขาอัลไตลงมา ต้องเดินทางเป็นระยะเวลาทางไกลมาก และต้องผ่านทะเลทรายกว้างสูงใหญ่ทุรกันดาร
          3. บริเวณเทือกเขาอัลไตเป็นเขตที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นไม่เหมาะที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์




3. แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนใต้ของจีน
3.1ผู้กำหนดทฤษฎีและหลักฐานที่ใช้ศึกษา
ผู้ริเริ่มแนวคิดนี้ ได้แก่ อาร์ชิบัลด์ รอสส์ คอลูน นักสำรวจชาวอังกฤษ ได้เดินทางสำรวจดินแดนตามแนวชายแดนทางใต้ของจีนจากกวางตุ้งมาถึงมัณฑะเลย์ของพม่า แล้วเขียนรายงานเป็นหนังสือ ชื่อ Across Chryse  พบว่าตามเส้นทางที่สำรวจประชาชนมีวีชีวิตและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันทั้งด้านภาษาพูด การแต่งกาย เป็นต้น
       ปัจจุบันแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับมากที่สุด เพราะมีหลักฐานประกอบที่น่าเชื่อถือกับธรรมชาติของการอพยพของมนุษย์ที่จะมักอพยพจากที่สูงลงมาที่ต่ำ มีสถานที่ไม่ไกลจากที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบันมากนักประกอบกับมีความคล้ายคลึงกันในวัฒนธรรมของประชาชน

4. แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย
    4.1 ผู้กำหนดทฤษฎีและหลักฐานที่ใช้ศึกษา
    รูธ เบเนดิกต์ นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันได้เสนอแนวคิดว่า ชนชาติไทยเป็นเชื้อชาติมลายูได้อพยพจากทางใต้ของแหลมมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซียขึ้นไปทางเหนือจนถึงตอนใต้ของจีนแล้วจึงอพยพกลับลงมาอีกครั้งหนึ่งใน นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ เสนอการวิจัยเรื่องหมู่เลือดในคนไทยลงในวารสารวิจัยแห่งชาติ หมู่เลือดของไทยคล้ายคลึงกับคนอินโดนีเซียมากกว่าจีน
    นอกจากนี้ได้ศึกษาความถี่ของยีน พบว่าคนไทยไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากคนจีน จึงเชื่อว่าชนชาติไทยน่าจะมีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ต่อมาจึงค่อยๆอพยพมายังกลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และขึ้นเหนือไปถึงมณฑลยูนนานของประเทศจีน
ความน่าเชื่อถือของแนวคิดเรื่องถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายู
แนวคิดที่ว่าถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะอินโดนีเซียนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ โดยมีเหตุผลและหลักฐานโต้แย้ง คือ ลักษณะการเคลื่อนย้ายของวัฒนธรรมจะมีการเคลื่อนย้ายจากเหนือลงใต้ รวมทั้งหลักฐานที่ใช้ในการสนับสนุนแนวคิดเป็นหลักเฉพาะทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่ ไม่มีความหลากหลายของหลักฐานจึงไม่ค่อยได้รับความเชื่อมากนักในปัจจุบัน

5. แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน
5.1. ผู้กำหนดแนวคิดและหลักฐานที่ใช้ศึกษา
ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญทางกายภาคศาสตร์ ซึ่งมีความสนใจงานทางด้านโบราณคดีเป็นพิเศษ เคยร่วมสำรวจโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินในเขตอำเภอบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีอายุ 4,000 ปีมาแล้ว โครงกระดูกมีความคล้ายคลึงกับโครงกระดูกของคนไทยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทำให้นายแพทย์สุด แสงวิเชียร เชื่อว่าถิ่นเดิมของคนไทยไม่ได้อพยพมาจากที่ใด แต่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยในปัจจุบันนั่นเอง
5.2 ความน่าเชื่อถือของแนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน
   แนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ได้รับการยอมรับ ทั้งนี้เพราะอาศัยเฉพาะหลักฐานทางโบราณคดีเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้นำหลักฐานด้านอื่นมาใช้ประกอบ ทำให้มีความน่าเชื่อถือลดลง

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น