วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

48.ความเจริญด้านเศรษฐกิจสมัยธนบุรี -รัตนโกสินทร์


ความเจริญด้านเศรษฐกิจ
สมัยธนบุรี -รัตนโกสินทร์
1x42.gif
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ผลผลิตทางการเกษตร
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของไทยได้แก่ ข้าว อ้อย และพริกไทย
ข้าวเป็นสินค้าที่จัดอยู่ในลำดับที่ 5 ของสินค้าที่ส่งออกมากตามลำดับ อันได้แก่ น้ำตาล ฝ้าย ไม้หอมและดีบุก ข้าวถือ น้ำตาล เรื่องการผลิตน้ำตาลจากอ้อยนั้น ไทยสามารถผลิตน้ำตาลจากอ้อยได้ ตั้งแต่ต้นสมัยรัชกาลที่ 2 แล้ว พริกไทย มีการส่งออกพริกไทยไปยังประเทศจีนประมาณปีละ 60,000 หาบ

2. ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ทำรายได้ให้กับแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ไม้ แร่ธาตุและสินค้าประเภทเหล็ก

3. การจัดเก็บภาษีอากร
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-2 การจัดเก็บภาษีอากรยังคงมีลักษณะเหมือนกับสมัยอยุธยา ภาษีอากรที่เรียกเก็บในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรขนอนตลาด อากรค่าน้ำเก็บตามเครื่องมือ อากรสมพัตสร (อากรพืชล้มลุก) อากรค่านา อากรสวน และส่วย ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 2 ประเภทของภาษีอากรประกอบด้วย จังกอบ อากร ส่วย ฤชา
   ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการแก้ไขการเก็บภาษีใหม่ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มพูนมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เพราะในสมัยนี้มีศึกสงครามกับข้าศึกภายนอกมาก ดังนั้นรัชกาลที่ 3 จึงได้ทรงตั้งภาษีอากรใหม่ถึง 38

4. สภาพการค้าขาย
การค้าภายในประเทศ การค้าขายยังจัดอยู่ในขอบเขตจำกัด เพราะเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นแบบเลี้ยงตนเอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ตกลงทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษในปี 2398

สาระสำคัญของสนธิสัญญาเบาริง
  1. อังกฤษมีสิทธิตั้งกงสุลคอยดูแลผลประโยชน์และตั้งศาลกงสุลเพื่อชำระความคนในบังคับของอังกฤษ
  2. ให้สิทธิการค้าเสรีแก่คนในบังคับอังกฤษทั่วทุกเมืองท่าของไทย และอาจจะเช่าซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ภายในเขต ไมล์จากกำแพงเมือง ถ้าเข้ามาอยู่ในเมืองไทยครบ 10 ปี
  3. ยกเลิกการเก็บค่าระวางปากเรือ แต่กำหนดภาษีขาเข้าตามราคาสินค้าในอัตราร้อยละชัก 3 ส่วนภาษีขาออกให้เก็บเพียงครั้งเดียว และไม่เก็บภาษีฝิ่น แต่ต้องนำมาขายให้แก่เจ้าภาษีเท่านั้น และถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อต้องนำออกไป
  4. รัฐบาลไทยมีสิทธิห้ามส่งข้าว เกลือ และปลาออกนอกประเทศได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้กงสุลทราบข่าวล่วงหน้าเป็นเวลา 1 เดือน
รัชกาลที่ 6 ทรงพยายามที่จะปรับปรุงทางด้านเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้น จนมีผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
ปัญหาเหล่านี้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลที่ 7 ถึงแม้ว่ารัชกาลที่ 7 จะพยายามแก้ไขอย่างเต็มพระสติกำลัง แต่สถานการณ์ดังกล่าวก็มิได้กระเตี้ยงขึ้น จนกลายเป็นเงื่อนไขทีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในที่สุด

1x42.gif

ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น