วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

23.ลัทธิชาตินิยม


ลัทธิชาตินิยม
1x42.gif


..........ลัทธิชาตินิยมเป็นลัทธิการเมืองที่เน้นความจงรักภักดีต่อรัฐชาติ โดยถึงว่าชาติเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมหรือวัฒนธรรม เป็นความรู้สึกรักรัฐชาติและความรู้สึกในเรื่องความเป็นชาติของคนในแต่ละสมัยแต่ละท้องถิ่น แม้จะมีลักษณะคล้ายลึงกันแต่ก็มีส่วนแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิศาสตร์ การเมือง สังคม และประวัติศาสตร์ เมื่อพิจารณาลักษณะละเอียดแล้ว ชาตินิยมของแต่ละชาติจึงมีลักษณะต่างกัน

..........ลัทธิชาตินิยมเจริญขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่15-17เกิดจากกษัตริย์ต้องการพ้นจากอำนาจของศาสนจักรคาทอลิก และอิทธิพลของขุนนางในระบอบพี่วดัล นโยบายพาณอชยนิยม ชึ่งรัฐใช้นโยบายสนับสนุนการค้าภายนอกเป็นนโยบายระดับชาติ ช่วงเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจแก่กษัตริย์และชนชั้นกลาง ส่วนการสนับสนุนให้ใช้ภาษาประจำชาติแทนภาษาประจำชาติแทนภาษาละตินก็ทำให้วัฒธรรมของเชื้อชาติแต่ละเชื้อชาติเจริญขึ้น เนื้อหาทางวัฒนธรรมด้านต่างๆก็หันกลับไปสู่กรีกและโรมันแทนวัฒนธรรมของคริสต์ศาสนา จึงอาจกล่าวได้ว่าลัทธิชาตินิยมในเบื้องต้นนี้เป็นลัทธิชาตินิยมของชนชั้นสูงคือกษัตริย์

..........การปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นการมาชีพ แนวความคิดแบบสังคมนิยมชึ่งเน้นความเสนอภาค ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชาตินิยมในยุคนี้ ชัยชนะของคอมมิวนิสต์ในรัสเซียทำให้พวกสังคมนิยมมีกำลังใจในการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนระบบการเมืองใหม่ ความคิดได้แผ่เข้าไปในเอเซียและแอฟริกา โดยเฉพาะประเทศอาณานิคมการกู้ชาติกับการเป็นสังคมนิยมจึงมีความสัมพันธ์กัน และมีลักษณะเป็นการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพต่อผ่ายปกครอง โดยเฉพาะที่เป็นคนต่างชาติ เป็นการปฏิวัติของผ่ายซ้ายต่อผ่ายขวา ในช่วงนี้จึงกล่าวได้ว่าลัทธิชาตินิยมเป็นอุดมคติของชนชั้นกรรมาชีพ

สาเหตุการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

..........1. การดำเนินนโยบายปฏิรูป
..........ใน ค.ศ. 1986 ดำเนินการปฏิรูปเป็นไปในลักษณะเสรีประชาธิปไตย นโยบายดังกล่าวสร้างความไม่พอใจแก่ทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมและคอมมิวนิสต์อนุรักษนิยม ในสมัยอดีตประธานาธิบดี มิคาอิล กอร์บาชอฟ ที่ใช้นโยบายกราสนอฟ-เปรเนฟรอยกา หรือ นโยบายปรับ-เปิด คือ ปรับปรุงภายในประเทศและเปิดรับอารยธรรมจากต่างชาติ แต่ประชาชนไม่มีทักษะที่ดีพอทางด้านการแข่นขันทางด้านการค้า เพราะเคยชินแต่การรอรับ การสั่งการจากรัฐบาล พอเปิดประเทศทำให้เกิดการตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง

..........2. การใช้นโยบายที่ผ่อนปรนกับการเคลื่อนไหวในการแยกเอกราชจากสาธารณรัฐต่างๆ มากเกินไป ทำให้เกิดความเข้มแข็งจนรัฐบาลกลางไม่สามารถแก้ไขได้ในที่สุด

..........3.การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศโปแลนด์ ที่เคยเป็นอดีตประเทศบริวารเปลี่ยนไปปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพรรคกรรมกรของนายเล็ก วาเล็นซาแห่งโปแลนด์ เป็นผู้นำ รวมถึงอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศยุโรปตะวันออกอื่นๆ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากนัก และการรวมเยอรมันนีซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงในสหภาพโซเวียตที่สำคัญ

ผลกระทบจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตที่มีต่อสังคมโลก

..........1. ทำให้สงครามเย็นระหว่างฝ่ายเสรีประชาธิปไตยกับฝ่ายประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ต้องสิ้นสุดลง
..........2. ดุลแห่งอำนาจของโลกเปลี่ยนแปลงไป สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก
..........3. การที่สหภาพโซเวียตแตกออกเป็นสาธารณรัฐต่างๆ ทำให้ประเทศในสหภาพโซเวียตเดิมมีความอ่อนแอ มีการแยกตัวออกเป็นประเทศเอกราชของอดีตสหภาพโซเวียต 15 ประเทศ
..........4. ทำให้องค์การระหว่างประเทศต่างๆ เปิดรับประเทศสมาชิกใหม่จากภูมิภาคยุโรปตะวันออกได้
..........5. สิ้นสุดของการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก เป็นจุดเริ่มต้นของการรวมตัวกันในประเทศยุโรป เป็นสหภาพยุโรป

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น