วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

43.การพัฒนาและเสื่อมอำนาจของอยุธยา


การพัฒนาและเสื่อมอำนาจของอยุธยา
1x42.gif
ความเจริญทางด้านการเมืองการปกครอง/การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  พ.ศ. 1893 – 1991
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  
ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) การปกครองที่ได้รับอิทธิพลจากเขมรและสุโขทัยในลักษณะต่อไปนี้
  1. การปกครองส่วนกลาง จัดการบริหารแบบจตุสดมภ์ หมายถึง การที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง ได้แบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบเป็นกรมสำคัญ 4 กรม ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
    1. กรมเวียง หรือ กรมเมือง มีขุนเวียงเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร
    2. กรมวัง มีขุนวังเป็นหัวหน้าดูแลรักษาพระราชวัง จัดงานพระราชพิธีต่างๆ และพิจารณาพิพากษาคดี
    3. กรมคลัง มีขุนคลังเป็นหัวหน้า รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศทั่วราชอาณาจักร  ด้านการเงินทำหน้าที่เก็บภาษีอากร
    4. กรมนา มีขุนนาเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ดูแลเรือกสวนไร่นาทั่วราชอาณาจักร และจัดเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอในยามบ้านเมืองมีศึกสงคราม
  2. การปกครองส่วนภูมิภาค การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค จัดตามแบบอาณาจักรสุโขทัย การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง  พ.ศ. 1991 – 2072 เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. 1991 – 2031) พระองค์ทรงปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่ เพราะเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายังหละหลวม  กรุงศรีอยุธยาควบคุมดูแลเมืองในส่วนภูมิภาคได้ไม่ทั่วถึง มีลักษณะสำคัญสองประการ
    1. การปกครองส่วนกลาง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้มีตำแหน่ง สมุหกลาโหม รับผิดชอบด้านการทหาร สมุหนายกทำหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักรและดูแลจดุสดมภ์  พระองค์ได้ทรงกำหนดหน่วยงานระดับกรม
      1. กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก   มีฐานะเป็นอัตรมหาเสนาบดี  มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
      2. กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม  มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี  มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงกรมจตุสดมภ์เสียใหม่ ให้มีเสนาบดีรับผิดชอบงานในหน้าที่ของแต่ละกรม คือ
      3. กรมเมือง  มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
      4. กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
      5. กรมคลัง  มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
      6. กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี
    2. การปกครองส่วนภูมิภาค สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้จัดการปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค ดังนี้
      1. หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองชั้นจัตวา ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า “ผู้รั้ง”
      2. หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่  เมืองที่อยู่ถัดจากหัวเมืองชั้นในออกไป  (ซึ่งเป็นเมืองพระยามหานครในสมัยก่อน)จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท  เอก  ตามขนาดและความสำคัญของเมืองนั้นๆ
      3. เมืองประเทศราช มีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย  พ.ศ. 2072 – 2310
การจัดการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางตามที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางรากฐานไว้คงใช้มาตลอด แต่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพบ้านเมืองยิ่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  (พ.ศ. 2199 – 2231) กฎหมายใช้ปกครองเรียกว่า กฎหมายราชศาสตร์ มีกษัตริย์ปกครอง 34-35 พระองค์ และมี 5 ราชวงศ์

การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรอยุธยา
เกิดจากปัจจัยดังนี้
  1. การขาดความสามัคคีของคนไทย
  2. การว่างเว้นจากสงครามมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความประมาท
  3. ผู้นำไม่มีความเข้มแข็ง พระมหากษัตริย์ไม่มีความสามารถในการรบ
  4. ศัตรูมีกำลังที่เข้มแข็ง ในขณะที่กำลังรบของอยุธยาอ่อนแอ
  5. การแข็งเมืองของเมืองขึ้นต่างๆ ที่ประกาศตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่ออยุธยาทำให้อยุธยาอ่อนแอ
1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น