วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

49.พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรมอยุธยา


พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
สมัยอยุธยา
1x42.gif
   สภาพสังคมในสมัยอยุธยา  เป็นแบบระบบศักดินา  ซึ่งจะเป็นตัวแบ่งสิทธิ  หน้าที่และความรับผิดชอบของคนในสังคม  ผู้ที่มีศักดินาสูงก็จะมีสิทธิ หน้าที่  และความรับผิดชอบสูง  ผู้ที่มีศักดินาต่ำก็จะมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบน้อยลดหลั่นกันตามศักดินาที่ได้รับ  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้พระราชทานศักดินาให้แก่เจ้านาย  ขุนนาง  และราษฎร
กลุ่มคนในสังคมอยุธยาแบ่งได้ 2 ลักษณะ  ดังนี้
  1. ชนชั้นผู้ปกครอง
    1. พระมหากษัตริย์  เป็นประมุขสูงสุดของอาณาจักร
    2. เจ้านาย  เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์
    3. ขุนนาง  เป็นบุคคลที่ถวายตัวเข้ารับราชการ  มีหน้าที่ช่วยพระมหากษัตริย์ดูแลปกครองบ้านเมือง
  2. ชนชั้นผู้ถูกปกครอง  ไพร่  หมายถึง  ราษฎรทั่วไป  เป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุดในสังคม  ไพร่ที่เป็นชายต้องขึ้นสังกัดมูลนายตามกรมกองแห่งใดแห่งหนึ่ง  และมีหน้าที่รับใช้บ้านเมือง  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท  ดังนี้
    1. ไพร่หลวง  คือ  ชายฉกรรจ์ที่สังกัดอยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ มีหน้าที่ทำงานรับใช้บ้านเมืองปีละ 6 เดือน  ไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานต่าง ๆ เช่น  สร้างวัด  สร้างวัง  ป้อมปราการ  และถูกเกณฑ์ไปรบยามเกิดสงคราม
    2. ไพร่สม  เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่มูลนายตามศักดินา  เมื่อเกิดศึกสงครามก็ถูกเกณฑ์ไปรบ
    3. ไพร่ส่วย  เป็นไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของมาแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน  สิ่งของที่ไพร่ส่วยส่งมาส่วนใหญ่เป็นสิ่งของสำคัญ  เช่น  มูลค้างคาว  ดีบุก  ของป่า  เป็นต้น
  3. ทาส  เป็นคนที่ขาดสิทธิในแรงงานและชีวิต  ไม่มีอิสระในการทำสิ่งใดต้องทำงานตามที่นายเงินสั่ง
กลุ่มบุคคลในสถาบันศาสนา  ได้แก่  กลุ่มพระสงฆ์  เป็นชนชั้นที่มีฐานะทางสังคมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปกครองบ้านเมืองโดยตรง  อาจถือได้ว่า  พระสงฆ์มีสถานภาพใกล้เคียงกับชนชั้นมูลนาย  เพราะได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงานและการเสียภาษีให้แก่รัฐ พระสงฆ์ได้รับการยกย้องให้เป็นผู้นำและเป็นที่พึ่งทางใจของชุมชน  และมีบทบาทเชื่อมประสานระหว่างชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น