วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

2.วิธีการทางประวัติศาสตร์



วิธีการทางประวัติศาสตร์
1x42.gif

วิธีการทางประวัติศาสตร์
คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้นหรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์

ขั้นตอนและความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์
การใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อรู้จักและเข้าใจอดีตให้ถ่องแท้ขึ้นนั้น มีกระบวนการที่อาจแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

.......1. กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา ขั้นตอนในการกำหนดหัวข้อที่จะศึกษาประวิติศาสตร์จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดหัวข้ออย่างกว้างๆก่อนแล้วค่อยตีกรอบให้แคบลง ไม่ให้มีหัวข้อที่กว้างจนเกินไปหรือแคบจนเกินไปในการกำหนดหัวข้อที่จะศึกษาในเรื่องใดหรือมีความสนใจในเรื่องใด ต้องเริ่มต้นด้วยความในใจในเรื่องนั้นๆก่อน ซึ่งหากนึกไม่ออกว่ามีความสนใจในเรื่องใดต้องฝึกอ่านหนังสือ และหาข้อมูลในเรื่องต่างๆให้มาก เมื่อสนใจจะศึกษาในเรื่องใดๆก็หาข้อมูลอย่างกว้างๆในเรื่องนั้นๆก่อน หรือ การศึกษาภูมิหลังของเรื่องที่สนใจ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ก่อนที่จะมีการสืบค้นหาข้อมูลให้ลึกซึ้งต่อไป โดยตั้งเป็นประเด็นคำถาม เช่น มีการศึกษาเรื่องอะไร ในช่วงเวลาไหน เหตุใดต้องศึกษา เพื่อกำหนดแนวทางในการแสวงหาคำตอบอย่างมีเหตุผล

.......2. การค้นหาข้อมูล เมื่อได้หัวข้อที่ต้องการจะค้นคว้าแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การค้นหาข้อมูล เมื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเกี่ยวข้องในการอ้อม ในเรื่องที่ต้องการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ทั้งที่เป็นหลักฐานที่เป็นบายลักษณ์อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ เป็นต้น และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เป็นต้น เพื่อหาข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์

.......3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน หลักฐานหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อศึกษาที่รวบรวมมาเพื่อหาความน่าเชื่อถือของหลักฐานประเภทต่างๆที่หามาได้ไม่ใช่ว่าจะนำไปใช้ได้ทั้งหมด อาจพบทีหลังว่าบางชิ้นไม่เกี่ยวข้องโดยตรง และบางชิ้นหากนำไปใช้หรือนำไปอธิบายเหตุการณ์กลับจะทำให้เรื่องราวที่ค้นคว้าขาดความน่าเชื่อถือได้ ดังนั้นต้องมีการประเมินคุณค่าของหลักฐานก่อน ซึ่งเรียกว่า การวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ อันประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้

..............3.1 การวิพากษ์หลักฐานภายนอก เป็นขั้นตอนพิจารณา หลักฐานที่ได้มาเป็นของจริงหรือของปลอม

..............3.2 การวิพากษ์หลักฐานภายใน เป็นการประเมินคุณค่าของหลักฐานนั้นว่า ให้ความน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด คือการตรวจสอบองค์ประกอบของหลักฐาน โดยประเมินว่าหลักฐานนั้นเขียนขึ้นเมื่อใด หลักฐานนั้นเขียนหรือสร้างขึ้นที่ใด และหลักฐานนั้นใครเป็นผู้ทำขึ้นและทำขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ใด

.......4. การตีความหลักฐาน เป็นขั้นตอนตีความว่าหลักฐานนั้นให้ข้อมูลหรือข้อสนเทศอะไรบ้าง เนื้อความที่ได้เป็นไปทิศทางเดียวกันหรือไม่ ในการตีความหลักฐานควรกระทำด้วยใจเป็นกลาง แม้จะฝืนกับความรู้สึก หลีกเลี่ยงความมีอคติ

.......5. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล  เมื่อทำการรวบรวมข้อมูล ประเมินคุณค่า และตีความหมาย ขั้นตอนสุดท้าย คือการนำข้อมูลมาวิเคราะห์สังเคราะห์เข้าด้วยกันเป็นเรื่องราวขึ้น


1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น