วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

39.อาณาจักรโบราณในประเทศไทย

อาณาจักรโบราณในประเทศไทย
อาณาจักรโบราณในประเทศไทยที่จารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษณ์มีดังนี้
1. อาณาจักรทวารวดี เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญในภาคกลาง มีความเจริญด้านพระพุทธศาสนา รวมถึงความเจริญทางด้านศิลปกรรม มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง นอกจากนั้นยังมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจ โดยเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญ
2. อาณาจักรละโว้ เป็นแหล่งชุมชนที่มีความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจเป็นแหล่งน้ำ มีการติดต่อค้าขายทางทะเลสะดวก ละโว้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม เรียกว่า คิลปะลพบุรี เช่น พระปรางค์สามยอด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างความเชื่อของศาสนาพุทธและฮินดู จนมีการล่มสลายเมื่อถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา
3 .อาณาจักรฟูนัน เป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนสุวรรณภูมิ มีการนำความเชื่อทางศาสนา พราหมณ์-ฮินดูมาใช้ มีจุดศูนย์กลางอยู่แถบลุ่มน้ำโขงในประเทศเขมรปัจจุบัน มีการปกครองแบบเทวราชา ยกย่องพระมหากษัตริย์เป็นเทพเจ้า รวมถึงความเจริญทางด้านการค้า ความเสื่อมของอาณาจักรฟูนันเกิดจากการุกรานของอาณาจักรเจนละ
4. อาณาจักรตามพรลิงค์ ตั้งบนคาบสมุทรในภาคใต้ฝั่งตะวันออกของไทย มีนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในช่วงศตวรรษ 18 มีศาสนาพุทธ ลัทธิลังกาวงศ์เจริญและรุ่งเรืองมาก อยู่ในฐานะเมืองขึ้นของสุโขทัยนานถึง 56 ปี
5. อาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่บริเวณเกาะชวา เกาะสุมาตรา คาบสมุทรมลายู และบางส่วนของภาคใต้ในประเทศไทย กลางพุทธศตวรรษที่ 14 พระพุทธศาสนานิกายมหายาน และศิลปะศรีวิชัยได้แผ่ขยายเข้ามา
6. อาณาจักรโคตรบูร ตั้งขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเชื่อดั้งเดิม คือ นับถือผี บูชาพญานาค นับถือศาสนาพุทธแบบเถรวาท
7. อาณาจักรหริภุญชัย เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา เมื่อก่อตั้งมาได้ประมาณ 632 ปี ได้ตกอยู่ในอำนาจของพ่อขุนมังรายจากเชียงราย
8. อาณาจักรโยนกเชียงแสน ตั้งอยู่บนบริเวณเหนือสุดของประเทศไทย พระเจ้าสิงหนวัติเป็นผู้สร้างเมือง มีความเจริญรุ่งเรืองด้านประติมากรรม เอกลักษณ์คือ ประติมากรรมศิลปะเชียงแสน
9. อาณาจักรล้านนา ผู้ก่อตั้งคือ พระยาเม็งราย ได้สร้างเมืองหลวงที่เมืองนครพิงค์เชียงใหม่ เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในเขตภาคเหนือในทุกด้าน

10. อาณาจักรขอม ก่อตั้งโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 โดยศูนย์กลางอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในเขตประเทศเขมร เป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างขวางมาก รวมทั้งความเจริญด้านศาสนาผสมผสานระหว่าง ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูกับพระพุทธศาสนา
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น