วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

5.ความสัมพันธ์ของยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล


ความสัมพันธ์ของยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล
1x42.gif

.......การศึกษาของประวัติศาสตร์สากล แบ่งออกเป็น 4 ยุคสมัย คือ
.......1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เป็นงานเขียนทางประวัติศาสตร์ในยุคกรีกและยุคโรมัน ในยุคกรีกเป็นงานเขียนที่เน้นให้ความสำคัญกับมนุษย์มากขึ้น ภาพแนวคิดแบบมนุษย์นิยม ซึ่งเป็นการเขียนอย่างมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือ จะเน้นบทบาทของมนุษย์ ระบุเวลา และสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ ในยุคโรมันการเขียนประวัติศาสตร์จะอยู่ในรูปของการบันทึกต่างๆ ซึ่งใช้เป็นหลักฐานที่สำคัญในการศึกษาความเจริญรุ่งเรืองของโรมัน

.......2. ประวัติศาสตร์สมัยกลาง มีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นงานเขียน ที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคริสตจักรซึ่งคือหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ ทั้งนี้เพราะเป็นยุคมืด งานเขียนในยุคนี้จะเป็นงานเขียนเกี่ยวกับการรับใช้พระเจ้าโดยเน้นให้มนุษย์มีความเคารพยำเกรงในพระผู้เป็นเจ้าอย่างสุดชีวิต ในยุคนี้บทบาทของประชาชนถูกจำกัด

.......3. ประวัติศาสตร์สมัยฟื้นฟูวิทยาการ เป็นงานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่สลัดจากการครอบงำของศาสนาคริสต์อย่างสิ้นเชิง หันมาให้ความสำคัญกับมนุษย์นิยมอีกครั้ง โดยหันไปศึกษาอารยธรรมกรีก และโรมันเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน เป็นงานเขียนที่เน้นศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการดำเนินชีวิตประจำวัน

.......4. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เป็นงานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ การศึกษาจะมีความคล้ายคลึงกับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ คือ มีขั้นตอนการศึกษาที่ชัดเจน มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ จะทำอย่างมีเหตุมีผล ทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือที่สุดในปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ของยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

.......ความสัมพันธ์ระหว่าง ประวัติศาสตร์สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี รัตนโกสินทร์ แบ่งออกได้ดังนี้

1. ด้านการเมืองการปกครองของไทยมีลักษณะดังนี้

..............1.อาณาจักรสุโขทัยพระมหากษัตริย์จะใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ในการปกครองประเทศ คือ ทศพิธราชธรรม ราชจรรยาวัตร และจักรวรรดิวัตร
..............2.มีการปกครองประเทศโดยพระมหากษัตริย์ แม้จะมีพระราชฐานะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ยังงทำหน้าที่ดูแลราษฎรของพระองค์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีตลอดมา
..............3หลักกฎหมายรับอิทธิพลมาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของอินเดียเหมือนกัน โดยถึงแม้จะมีชื่อแตกต่างกันไป เช่น กฎหมายสมัยสุโขทัย กฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ กฎหมายราชศาสตร์ กฎหมายของรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ กฎหมายตราสามดวง และ กฎหมายในปัจจุบัน คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ล้วนแต่ได้รับอิทธิพลมาจากคำสอนของคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ทั้งสิ้น

2. ทางด้านเศรษฐกิจของไทยมีลักษณะดังนี้

..............1.การใช้เงินในการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน
..............2.ประเทศคู่ค้าของประเทศไทยตั้งแต่โบราณ มีประเทศคู่ค้าที่สำคัญตลอดมา คือ ประเทศจีน
..............3.ประเทศของสินค้าเพื่อการส่งออกของไทยตั้งแต่สุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยจะเป็นสินค้าประเภทหัตถกรรมมากกว่าสิ่งอื่น

3. ทางด้านสังคมวัฒนธรรมของไทยมีลักษณะดังนี้

..............1.การมีชนชั้น สามารถแบ่งโดยกว้างๆ ออกเป็น 2 ชนชั้น คือผู้ปกครองหรือพ่อขุน และผู้ถูกปกครองคือไพร่ฟ้าในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี ถึงรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการแบ่งชนชั้นของประชาชนอย่างชัดเจนโดยแบ่งเป็นลำดับชั้นดังนี้
.....................1.ชนชั้นกษัตริย์
.....................2.ชนชั้นราชวงศ์หรือเจ้านาย
.....................3.ชนชั้นขุนนาง
.....................4.ชนชั้นพระสงฆ์
.....................5.ชนชั้นไพร่
.....................6.ชนชั้นทาส
.......และได้มีการประกาศยกเลิกชนชั้นต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

..............2.ความศรัทธาในพุทธศาสนาของประชาชน โดยศาสนาพุทธประดิษฐานเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

..............3.การใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งประดิษฐ์โดยพ่อขุนรามคำแหง มีการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นถือเป็นความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ระหว่างสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น