วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

51.การเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างทางสังคมของไทย

การเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างทางสังคมของไทย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเลิกทาส
การเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างทางสังคมของไทยครั้งสำคัญเกิดขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เนื่องจากเป็นภาวะที่ประเทศไทยกำลังประสบกับภัยคุกคามจากชาติตะวันตก
การปฏิรูปสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 5
1. การเลิกไพร่ เป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากที่สุดในสังคม โดยตราพระราชบัญญัติทหารเพื่อเปิดรับทหาร เนื่องจากเกรงว่าเมื่อประกาศเลิกไพร่แล้วจะมีทหารน้อยลง
2. การเลิกทาส ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป  โดยเริ่มจากการประกาศพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสไทย พ.ศ. 2417
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมวัฒนธรรมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
    ในปีพุทธศักราช 2475 ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์นั้น สังคมไทยได้ก้าวสู่ความเป็นอารยะตามแบบตะวันตก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญ ที่ปรากฏอยู่ในรูปของวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง รถไฟ ไฟฟ้า ประปา เขื่อนชลประทาน โรงพยาบาล ระบบการสื่อสารคมนาคม ที่ทำการรัฐบาล ห้างร้าน และตึกรามบ้านช่อง ตลอดจนเครื่องใช้อันทันสมัย  อันมีเจ้านายและชนชั้นสูงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ส่วนชาวบ้านสามัญชนเป็นผู้ตาม นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงในขนบธรรมเนียมบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองระบบใหม่
ทั้งนี้เพราะรัฐบาลต้องติดต่อกับชาติอื่น ๆ ทั่วโลก จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยให้เป็นสากลและสอดคล้องกับความเป็นไปของโลก
แต่ให้คงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไว้ที่เด่นชัดในสมัยนั้นก็คือ เรื่องการแต่งกายในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
ได้มีบัญญัติเรียกว่า รัฐนิยม ซึ่งแสดงนโยบายของประเทศว่าต้องการให้ประชาชนคนไทยรักหวงแหนและภูมิใจในความเป็นไทย เช่น ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบตามที่กำหนด ห้ามสวมกางเกงแพร
ให้ทักทายกันด้วยคำว่า สวัสดี เป็นหลักเพราะถือว่าเป็นคำที่ดี ไพเราะ และมีความหมายอันเป็นมงคล

สรุปที่สำคัญได้ดังนี้
  1. ค่านิยมให้ความสำคัญด้านวัตถุมากกว่าด้านจิตใจ
  2. รับวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตจากชาติตะวันตกทุกด้าน
  3. ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน
  4. การจัดการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพเป็นสำคัญ
  5. สังคมไทยขยายขนาดเป็นสังคมเมือง
  6. เกิดปัญหาด้านสังคมเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกคนต้องแก่งแย่งกันทำมาหากิน

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

50.พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม


พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
สมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
1x42.gif

สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี องค์ประกอบของสังคมไทยประกอบด้วยสถาบันต่างๆ ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ และทาส
   ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การทำนุบำรุงและฟื้นฟูทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และการทำนุบำรุงก็กระทำโดยวิธีรักษารูปแบบเดิมไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ผสมผสานเข้าไปด้วย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคนี้เจริญรุ่งเรืองมากสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๓๕)
ศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สะท้อนความเจริญของบ้านเมือง  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ผู้นำทุกยุคทุกสัยให้ความสำคัญ  ส่งเสริม  และสนับสนุน  ศิลปวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์แบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท  คือ  สถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  และวรรณกรรม
1. สถาปัตยกรรม
   สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ได้รั้บแบบอย่างมาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย  เช่น  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)  มีลักษณะคล้ายคลึงกับวัดพระศรีสรรเพชญในสมัยอยุธยา  
สมัยรัชกาลที่ 1  มีการสร้างและบูรณะวัดเป็นจำนวนมาก
สมัยรัชกาลที่ 3  ทรงมีพระราชนิยมแบบจีน  เกิดสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างไทยกับจีน  เช่น  วัดยานนาวา  เป็นต้น  
เมื่อมาถึงสมัยรัชากาลที่ 4  ไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก  สถาปัตยกรรมจึงมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก  เช่น
   พระราชวังสราญรมย์  ที่กรุงเทพ ฯ  สร้างสมัยรัชกาลที่ 4
   พระที่นั่งอนันตสมาคม  ที่กรุงเทพ ฯ  สร้างสมัยรัชกาลที่ 5
   พระราชวังสนามจันทร์  ที่จังหวัดนครปฐม  สร้างสมัยรัชกาลที่ 6


2. ประติมากรรม
    งานประติมากรรมของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  มักเป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ไม่นิยมปั้นรูปมนุษย์แบบสมจริง   จนกระทั่งได้รับอิทธิพลมาจากอารยธรรมตะวันตก  จึงเริ่มมีประติมากรรมรูปมนุษย์ตามแบบของจริงมากขึ้น  ส่วนใหญ่เป็นรูปปั้นของกษัตริย์  และบุคคลสำคัญ  เช่น  อนุสาวรีย์ต่าง ๆ เป็นต้น


3. จิตรกรรม
   จิตรกรรม  คือ  ศิลปะการวาดภาพ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมักเป็นจิตรกรรมที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ  ชาดก  หรือภาพในวรรณคดีเรื่อง  รามเกียรติ์  เป็นต้น  
ซึ่งส่วนใหญ่เขียนเป็นจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์  สำหรับจิตรกรรมของชาวบ้านทั่วไปมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดกเช่นกัน  แต่มักสอดคแทรกเรื่องราวของวิถีชีวิตลงไปด้วย  ซึ่งสามารถพบจิตรกรรมประเภทนี้ได้ทั่วไป
    สมัยรัชกาลที่ 3  มีการรับอิทธิพลของศิลปะจีนอย่างมาก  ส่วนสมัยรัชกาลที่ 4  ได้รับอิทธิพลของตะวันตก  ซึ่งจะเป็นภาพที่สมจริงคือ  มี 3 มิติ  ศิลปินที่สำคัญในสมัยนี้  คือ  ขรัว  อินโข่ง  ส่วนศิลปินที่มีความสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5  คือ  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ซึ่งอิทธิพลของตะวันตกยังส่งผลต่อจิตรกรรมไทยจนถึงปัจจุบัน


4. วรรณกรรม
    วรรณกรรมได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตกอย่างชัดเจน มีหลากหลายแนวทั้ง นวนิยาย เรื่องสั้น งานแปล สารคดี

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

49.พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรมอยุธยา


พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
สมัยอยุธยา
1x42.gif
   สภาพสังคมในสมัยอยุธยา  เป็นแบบระบบศักดินา  ซึ่งจะเป็นตัวแบ่งสิทธิ  หน้าที่และความรับผิดชอบของคนในสังคม  ผู้ที่มีศักดินาสูงก็จะมีสิทธิ หน้าที่  และความรับผิดชอบสูง  ผู้ที่มีศักดินาต่ำก็จะมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบน้อยลดหลั่นกันตามศักดินาที่ได้รับ  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้พระราชทานศักดินาให้แก่เจ้านาย  ขุนนาง  และราษฎร
กลุ่มคนในสังคมอยุธยาแบ่งได้ 2 ลักษณะ  ดังนี้
  1. ชนชั้นผู้ปกครอง
    1. พระมหากษัตริย์  เป็นประมุขสูงสุดของอาณาจักร
    2. เจ้านาย  เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์
    3. ขุนนาง  เป็นบุคคลที่ถวายตัวเข้ารับราชการ  มีหน้าที่ช่วยพระมหากษัตริย์ดูแลปกครองบ้านเมือง
  2. ชนชั้นผู้ถูกปกครอง  ไพร่  หมายถึง  ราษฎรทั่วไป  เป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุดในสังคม  ไพร่ที่เป็นชายต้องขึ้นสังกัดมูลนายตามกรมกองแห่งใดแห่งหนึ่ง  และมีหน้าที่รับใช้บ้านเมือง  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท  ดังนี้
    1. ไพร่หลวง  คือ  ชายฉกรรจ์ที่สังกัดอยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ มีหน้าที่ทำงานรับใช้บ้านเมืองปีละ 6 เดือน  ไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานต่าง ๆ เช่น  สร้างวัด  สร้างวัง  ป้อมปราการ  และถูกเกณฑ์ไปรบยามเกิดสงคราม
    2. ไพร่สม  เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่มูลนายตามศักดินา  เมื่อเกิดศึกสงครามก็ถูกเกณฑ์ไปรบ
    3. ไพร่ส่วย  เป็นไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของมาแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน  สิ่งของที่ไพร่ส่วยส่งมาส่วนใหญ่เป็นสิ่งของสำคัญ  เช่น  มูลค้างคาว  ดีบุก  ของป่า  เป็นต้น
  3. ทาส  เป็นคนที่ขาดสิทธิในแรงงานและชีวิต  ไม่มีอิสระในการทำสิ่งใดต้องทำงานตามที่นายเงินสั่ง
กลุ่มบุคคลในสถาบันศาสนา  ได้แก่  กลุ่มพระสงฆ์  เป็นชนชั้นที่มีฐานะทางสังคมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปกครองบ้านเมืองโดยตรง  อาจถือได้ว่า  พระสงฆ์มีสถานภาพใกล้เคียงกับชนชั้นมูลนาย  เพราะได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงานและการเสียภาษีให้แก่รัฐ พระสงฆ์ได้รับการยกย้องให้เป็นผู้นำและเป็นที่พึ่งทางใจของชุมชน  และมีบทบาทเชื่อมประสานระหว่างชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

48.ความเจริญด้านเศรษฐกิจสมัยธนบุรี -รัตนโกสินทร์


ความเจริญด้านเศรษฐกิจ
สมัยธนบุรี -รัตนโกสินทร์
1x42.gif
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ผลผลิตทางการเกษตร
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของไทยได้แก่ ข้าว อ้อย และพริกไทย
ข้าวเป็นสินค้าที่จัดอยู่ในลำดับที่ 5 ของสินค้าที่ส่งออกมากตามลำดับ อันได้แก่ น้ำตาล ฝ้าย ไม้หอมและดีบุก ข้าวถือ น้ำตาล เรื่องการผลิตน้ำตาลจากอ้อยนั้น ไทยสามารถผลิตน้ำตาลจากอ้อยได้ ตั้งแต่ต้นสมัยรัชกาลที่ 2 แล้ว พริกไทย มีการส่งออกพริกไทยไปยังประเทศจีนประมาณปีละ 60,000 หาบ

2. ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ทำรายได้ให้กับแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ไม้ แร่ธาตุและสินค้าประเภทเหล็ก

3. การจัดเก็บภาษีอากร
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-2 การจัดเก็บภาษีอากรยังคงมีลักษณะเหมือนกับสมัยอยุธยา ภาษีอากรที่เรียกเก็บในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรขนอนตลาด อากรค่าน้ำเก็บตามเครื่องมือ อากรสมพัตสร (อากรพืชล้มลุก) อากรค่านา อากรสวน และส่วย ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 2 ประเภทของภาษีอากรประกอบด้วย จังกอบ อากร ส่วย ฤชา
   ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการแก้ไขการเก็บภาษีใหม่ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มพูนมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เพราะในสมัยนี้มีศึกสงครามกับข้าศึกภายนอกมาก ดังนั้นรัชกาลที่ 3 จึงได้ทรงตั้งภาษีอากรใหม่ถึง 38

4. สภาพการค้าขาย
การค้าภายในประเทศ การค้าขายยังจัดอยู่ในขอบเขตจำกัด เพราะเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นแบบเลี้ยงตนเอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ตกลงทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษในปี 2398

สาระสำคัญของสนธิสัญญาเบาริง
  1. อังกฤษมีสิทธิตั้งกงสุลคอยดูแลผลประโยชน์และตั้งศาลกงสุลเพื่อชำระความคนในบังคับของอังกฤษ
  2. ให้สิทธิการค้าเสรีแก่คนในบังคับอังกฤษทั่วทุกเมืองท่าของไทย และอาจจะเช่าซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ภายในเขต ไมล์จากกำแพงเมือง ถ้าเข้ามาอยู่ในเมืองไทยครบ 10 ปี
  3. ยกเลิกการเก็บค่าระวางปากเรือ แต่กำหนดภาษีขาเข้าตามราคาสินค้าในอัตราร้อยละชัก 3 ส่วนภาษีขาออกให้เก็บเพียงครั้งเดียว และไม่เก็บภาษีฝิ่น แต่ต้องนำมาขายให้แก่เจ้าภาษีเท่านั้น และถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อต้องนำออกไป
  4. รัฐบาลไทยมีสิทธิห้ามส่งข้าว เกลือ และปลาออกนอกประเทศได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้กงสุลทราบข่าวล่วงหน้าเป็นเวลา 1 เดือน
รัชกาลที่ 6 ทรงพยายามที่จะปรับปรุงทางด้านเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้น จนมีผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
ปัญหาเหล่านี้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลที่ 7 ถึงแม้ว่ารัชกาลที่ 7 จะพยายามแก้ไขอย่างเต็มพระสติกำลัง แต่สถานการณ์ดังกล่าวก็มิได้กระเตี้ยงขึ้น จนกลายเป็นเงื่อนไขทีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในที่สุด

1x42.gif

ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

47.ความเจริญด้านเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย

ความเจริญด้านเศรษฐกิจ
สมัยสุโขทัย
1x42.gif
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้สุโขทัยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าได้  มีหลายประเภทดังนี้
1. ภูมิประเทศ  สุโขทัยตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบเชิงเขาซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และจับสัตว์น้ำ
2. ทรัพยากรธรรมราช  สุโขทัยมีพืชพรรณธรรมชาติต่าง ๆ อย่างอุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า  และแร่ธาตุต่าง ๆ
3. ความสามารถของผู้นำ กษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ปกครองกรุงสุโขทัยทรงมีพระปรีชาสามารถในการคิดริเริ่ม และดัดแปลงสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของราษฎร  เช่น  สร้างทำนบกั้นน้ำไว้เพื่อเก็บกักน้ำ  ที่เรียกว่า ทำนบพระร่วง ส่งน้ำไปตามคูคลองสู่คูเมือง เพื่อระยายน้ำสู่พื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้ประชาชนมีน้ำใช้สอยอย่างเพียงพอ
พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจของสุโขทัย
ขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของประชาชน 3 อาชีพ
1. เกษตรกรรม
สังคมสุโขทัยเป็นสังคมเกษตรกรรม  อาชีพหลักของประชาชน  คือ  การเพาะปลูก  และเลี้ยงสัตว์  การเพาะปลูกจะมีทั้งการทำนา  ทำไร่  และทำสวน  พืชที่ปลูกกันมาก  เช่น  ข้าว  มะม่วง  หมากพลู  เป็นต้น  บริเวณที่ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก  ได้แก่  ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง  แม่น้ำยม  และแม่น้ำน่าน
เนื่องจากสภาพทางธรรมราชของบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำดังกล่าวนี้ไม่เอื้ออำนวย ต่อการเพาะปลูก  เพราะมีน้ำน้อยในหน้าแล้ง  และเมื่อถึงฤดูน้ำจะมีน้ำปริมาณมากไหลบ่ามาท่วมขังเป็นเวลานาน  ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่อุดมสมบูรณ์  ดังนั้น  สุโขทัยจึงรู้จักการสร้างที่เก็บกักน้ำ  แล้วค่อท่อน้ำจากคูเมืองไปสู่สระต่าง ๆ เพื่อระบายน้ำไปสู่พื้นที่เกษตรกรรม  ทำให้สามารถผลิตผลผลิตได้อุดมสมบูรณ์
2. หัตถกรรม
   หัตถกรรมที่สำคัญของสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นการผลิต  เครื่องสังคโลก  หรือเครื่องปั้นดินเผา  เครื่องสังคโลกของสุโขทัยที่ผลิตได้  คือ  จาน  ชาม  และถ้วยต่าง ๆ นอกจากนั้นยังนิยมผลิตเครื่องสังคโลกในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ซื้อ  เช่น  แจกัน  เหยือก  โถน้ำ  โอ่ง  ไห  เป็นต้น
   จากหลักฐานการขุดพบซากเตาเผาเครื่องสังคโลก  หรือเตาทุเรียงเป็นจำนวนมาก  ทำให้สันนิษฐานได้ว่า  แหล่งที่ผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญมีอยู่ 2 แห่ง  คือ  กรุงสุโขทัย  และเมืองศรีสัชนาลัย
และจากการพบซากเตาเผาเครื่องสังคโลกขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก  ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเครื่องสังคโลกของสุโขทัยน่าจะเป็นสินค้าที่ได้รับความ นิยมจากดินแดนต่าง ๆ ในสมัยนั้น
3. การค้าขาย
  การค้าขายในสมัยสุโขทัยเป็นการค้าแบบเสรี  ทุกคนมีอิสระในการค้าขาย  รัฐไม่จำกัดชนิดสินค้าและไม่เก็บภาษีผ่านด่าน  ที่เรียกว่า  จกอบ  ผู้ใดอยากค้าขายอะไรก็ไม่มีการห้าม  มีการค้าสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น  ช้าง  ม้า  วัว  ควาย  เป็นต้น  ตลอดจนการค้าขายแร่เงินและแร่ทอง
   นอกจากจะมีการค้าขายภายในราชอาณาจักรแล้ว  ยังมีการค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้ากับอาณาจักรต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกอาณาจักรสุโขทัยอีกด้วย  เช่น  เมืองหงสาวดี  ตะนาวศรี  ล้านนา  กัมพูชา  มะละกา  ชวา  และจีน  เป็นต้น  
สินค้าออกที่สำคัญ  ได้แก่  เครื่องสังคโบก  พริกไทย  น้ำตาล  งาช้าง  หนังสัตว์  นอแรด  เป็นต้น  ส่วนสินค้าส่วนใหญ่เป็นพวกผ้าไหม  ผ้าทอ  อัญมณี  เป็นต้น

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

46.สิ่งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ



สิ่งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
1x42.gif
สิทธิและเสรีภาพพื้นฐาน มีดังนี้
  1. การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐ มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  2. ความเสมอภาค มีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดหลักความเสมอภาค และการไม่เลือกปฏิบัติแก่บุคคลที่มีความแตกต่างกัน
  3. สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล มีเจตนารมณ์เพื่อประกันสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในเคหสถาน
  4. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกี่ยวกับความ รับผิดทางอาญา
  5. สิทธิในทรัพย์สิน มีเจตนารมณ์เพื่อประกันความมั่นคงในการถือครองทรัพย์สิน
  6. สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ มีเจตนารมณ์เพื่อประกันเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การแข่งขันทางธุรกิจที่เป็นธรรม ความปลอดภัย สวัสดิภาพ และการดำรงชีพของคนทำงาน
  7. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน รกำหนดมิให้รัฐจำกัดเสรีภาพการแสดงออกของบุคคล เว้นแต่เพื่อความมั่นคงของรัฐ
  8. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา การได้รับการศึกษา ไม่น้อยกว่าสิบสองปีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  9. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ
  10. สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน คุ้มครองการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ การรับรู้และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การร้องทุกข์ การโต้แย้งการปฏิบัติราชการในทางปกครอง และเพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการฟ้องหน่วยงานของรัฐ
  11. เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ คุ้มครองประชาชนให้ได้รับความสะดวกในการใช้พื้นที่สาธารณะ คุ้มครองการรวมกลุ่มเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์กรเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น คุ้มครองการตั้งพรรคการเมืองเพื่อสืบสานเจตนารมณ์ทางการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในระบบรัฐสภา
  12. สิทธิชุมชน มีเจตนารมณ์เพื่อรับรองสิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม คุ้มครองบุคคลในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
  13. สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คุ้มครองบุคคลในการต่อต้านโดยสันติวิธีต่อการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองด้วยวิถีทางที่มิชอบ
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญนั้น จำแนกออกได้ 3 ประเภท คือ
(1) สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
(2) สิทธิและเสรีภาพในทางเศรษฐกิจ และ
(3) สิทธิและเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

45.พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน


พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน
1x42.gif

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในยุโรป พ.ศ.2457 นั้น ประเทศไทยยังคงยึดมั่นอยู่ในความเป็นกลาง แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสังเกตความเคลื่อนไหวของคู่สงครามอย่างใกล้ชิด เมื่อการสงครามรุนแรงขึ้น ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกราน จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2460 แล้วประกาศเรียกพลทหารอาสาสำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่งไปช่วยสงครามในยุโรป การส่งทหารไปรบ

สาเหตุที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง
เหตุเพราะเรามีกำลังน้อยเมื่อญี่ปุ่นบุกจึงไม่สามารถต่อต้านได้ และเพื่อป้องกันมิให้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
ผลของสงครามต่อไทย คือ ไทยต้องส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นรบ ได้ดินแดนเชียงตุง และสี่จังหวัดภาคใต้ที่ต้องเสียแก่อังกฤษกลับมา แต่ต้องคืนให้เจ้าของเมื่อสงครามสงบลง เกิดขบวนการเสรีไทย ซึ่งให้พ้นจากการยึดครอง ไทยได้รับเกียรติเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงใน พ.ศ. 2475
  1. สภาพการเมืองการปกครองมีการพยายามก่อการปฎิวัติ
  2. ปัญหาเศรษฐกิจและการแก้ไข เนื่องจากประเทศไทยในช่วง พ.ศ.2467 – 2474 ประสบปัญหาเศรษฐกิจอยู่ในภาวะตกต่ำตามสภาพการณ์เศรษฐกิจของโลก อันมีสาเหตุจากการที่ประเทศต่าง ๆ ต้องใช้จ่ายเงินไปในการบูรณะประเทศซึ่งเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 1
  3. ความไม่พอใจในความแตกต่างทางฐานะด้านสังคม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อีกเรื่องหนึ่งว่าทรงแต่งตั้งเจ้านายเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาแทนพวกสามัญชน
  4. 4.ความไม่พอใจระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และการเรียกร้องระบอบประชาธิปไตย     ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ประเทศไทยมีมาช้านาน ให้เป็นแบบประชาธิปไตยตามแบบอย่างประเทศตะวันตก



นโยบายชาตินิยมของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม มีดังนี้
  1. ด้านการเมือง เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย
  2. ด้านสังคมวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยตามชาติตะวันตก
  3. ด้านเศรษฐกิจ สร้างชาตินิยมให้กับคนไทย
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ปัญหาสังคมที่สั่งสมมาเป็นเวลานานได้ระเบิดออกมาหลังเหตุการณ์ขบวนการนัก ศึกษาและ กระแสประชาธิปไตย แสดงพละกำลังอย่างชัดเจน มีการสไตรค์ของกรรมการบ่อยครั้ง และเกิดการรวมตัว ของชาวนาและเกษตรกรอย่างกว้างขวางและเป็นระบบทั่วประเทศ
หลังเหตุการณ์ มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่างรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตย มากที่สุด และจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในเวลาต่อมา

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

44.การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย


การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย
สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
1x42.gif
รัชกาลที่ 1 ทรงฟื้นฟูระบบสังคมและการเมืองของราชอาณาจักรอยุธยา ทรงออกประมวลกฎหมายใหม่ ทรงฟื้นฟูพิธีในราชสำนัก และทรงบัญญัติวินัยสงฆ์ การปกครองแบ่งเป็นหกกรม โดยในจำนวนนี้ สี่กรมมีหน้าทีปกครองดินแดนโดยเฉพาะ
กรมกลาโหมปกครองทางใต้
กรมมหาดไทยปกครองทางเหนือและตะวันออก
กรมพระคลังปกครองดินแดนที่อยู่ทางใต้ของพระนคร
และกรมเมืองปกครองพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร
ส่วนอีกสองกรมนั้นคือ กรมนาและกรมวัง
กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของอุปราช ซึ่งเป็นพระอนุชาในพระมหากษัตริย์พม่า ซึ่งเห็นความวุ่นวาย ประกอบกับการโค่นล้มสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รุกรานสยามอีกใน พ.ศ. 2328
ฝ่ายสยามแบ่งกำลังออกเป็นหลายเส้นทาง ซึ่งกองทัพทางตะวันตกได้บดขยี้ทัพพม่าใกล้จังหวัดกาญจนบุรี
นี่เป็นการรุกรานสยามใหญ่ครั้งสุดท้ายของพม่า พ.ศ. 2345 พม่าถูกขับออกจากล้านนา พ.ศ. 2335 สยามยึดครองหลวงพระบาง และนำดินแดนลาวส่วนใหญ่มาอยู่ใต้การปกครองโดยอ้อมของสยาม
กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของสยามอย่างเต็มที่ และกระทั่งสวรรคตใน พ.ศ. 2352 พระองค์ทรงสถาปนาความเป็นเจ้าของสยามเหนือดินแดนที่ใหญ่กว่าประเทศไทยปัจจุบันอยู่มาก
การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้
การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่
สมุหกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน
สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน
เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย
-กรมเวียง ดูและความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วไป  
-กรมวัง ดูแลงานพระราชพิธีต่างๆ และการพิจารณาคดี
-กรมคลังหรือกรมท่า ดูแลด้านการเงินและการต่างประเทศ
-กรมนา ดูแลไร่นาทั่วราชอาณาจักร
การปรับปรุงกฏหมายและการศาล
กฎหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฎหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่ากฎหมายตราสามดวง
ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ทรงปรับปรุงการปกครอง ได้ทรงประกาศยกเลิกระบบจตุสดมภ์แล้วตั้งกระทรวงสมัยใหม่ขึ้นมา

1x42.gif
ประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา